ศูนย์บริการ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์
  Call : 02-897-1225
  ล้างแอร์ 300.- บาท
  ทำไม (^_^) ต้องล้างแอร์
  ล้างแอร์รายปี ประหยัดดี
  ล้างแอร์ ช่วยประหยัดไฟ
  ซ่อมแอร์ ด่วน  
  ซ่อมแอร์ระบบรั่ว
  ซ่อมแอร์ ระบบตัน

  เติมน้ำยาแอร์
  ย้ายแอร์เฉพาะคอยล์เย็น
  ย้ายแอร์เฉพาะคอยล์ร้อน
  ย้ายแอร์เก่าทั้งชุด
  ติดตั้งแอร์ใหม่
  ติดตั้งแอร์เก่า
  ถอดแอร์มาเก็บไว้
  ซ่อมตู้เย็น
  ซ่อมตู้แช่ทุกขนาด
  ซ่อมเครื่องซักผ้า

   คำแนะนำดีดี :
  ล้างแอร์ประหยัดไฟ
  เกร็ดความรู้เรื่องแอร์
  วิธีการเลือกซื้อแอร์
  คำนวนห้องก่อนซื้อแอร์
  แอร์บ้าน ราคาแอร์ 2017
  ขอใบเสนอราคา


LINE ID yensabuyair

ฝ่ายบริการ งานแอร์ ค่ะ


LINE ID @yensabuy

ฝ่ายขาย แอร์บ้าน 2017




    แอร์บ้าน ราคาแอร์ ถูกสุด ๆ

    แอร์ราคาถูก โดนใจ ปี 2017


แอร์ มิต ซู บิ ชิ ราคาพิเศษสุด!
ซื้อวันนี้ ติดตั้งฟรี ! จำนวนจำกัด


    รวมราคาแอร์บ้าน ติดผนัง


    แอร์เคลื่อนที่ แอร์มุ้ง ถูกสุด
ราคา 16,000.- บาท
ราคา 17,000.- บาท

    ทะเบียนพาณิชย์


    เย็นกาย สบายใจ - สุขใจ
พุทธวจน
พลังจิต
ฟังธรรม
เสียงธรรม โจโฉ
ธรรมะใกล้ตัว

 

11 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน

หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้ อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

    1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น

ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง พัดลมระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสาร, อาหาร หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ นอกจากนี้ หากเป็นห้องประชุม ในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศเย็นก่อนจะมีคนเข้าใช้ห้อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ให้รอจนมีคนเข้าใช้ห้องประชุมเป็นจำนวนมากก่อน จึงเปิดพัดลมระบายอากาศก็ได้

 

    2. ตั้งปิดจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน

ในสำนักงานสมัยใหม่ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหนึ่งเครื่อง จะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ250 วัตต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์ โดยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตโปรแกรม จึงมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้จอมอนิเตอร์ปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้สัมผัสคีย์บอร์ด หรือเมาส์ในระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับผู้ใช้ Window 98 การตั้งเวลาสามารถทำได้ ดังนี้

1) เลือก My computer

2) เลือก Control Panel

3) เลือก Power Management

4) ตั้งค่า Power schemes เป็น Home/Office Desk

 

   3. ตั้งอุณหภูมิ28 C แล้วเปิดพัดลมเสริม

ความเย็นสบาย หรือความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่สมดุลกัน คือ

1) อุณหภูมิ

2) ความชื้นสัมพัทธ์

3) ความเร็วลม

หากต้องการระดับความสบายเท่าเดิม เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง 28-30 C โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน) โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

 

     4. นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก

ผนังด้านที่มีความร้อนเข้ามามากทีสุดคือ ด้านตะวันออก และตะวันตก นอกจากความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาแล้ว เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังมีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาก และจะแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกร้อนขึ้น แม้อุณหภูมิในห้องจะเท่าเดิม ในห้องที่มีสภาพนี้จะต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 21-22 C จึงจะรู้สึกเย็นสบาย แต่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น การนำตู้ไปตั้งชิดผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในห้องที่ผนังห้องไม่ร้อน การตั้งอุณหภูมิที่ 25 C ก็จะเย็นสบายเพียงพอ นอกจากป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังแล้ว การมีตู้ตั้งชิดผนัง ยังเสมือนว่ามีผนังหนาขึ้น จึงเป็นการช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การนำตู้ไปตั้งติดผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก

ผนังด้านนั้นมีกระจกด้วย จะทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงกว่าอุณหภูมิห้อง ดังนั้น จึงควรระมัดระวังกรณีที่สิ่งของภายในตู้ไม่สามารถทนความร้อนได้

 

    5. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์

ระบบปรับอากาศ (แบบน้ำเย็น) ใช้พลังงานประมาณ 1 หน่วยต่อตันต่อชั่วโมง ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด 5 ตัน เปิดใช้งาน 4 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3= 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3 บาทต่อหน่วย) ในอาคารทั่วไปๆ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ การปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้ห้องปรับอากาศจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ในขณะที่ปิดเครื่องปรับอากาศนั้น จะต้องไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ มิฉะนั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไปในห้องปรับอากาศและจะสะสมอยู่ที่ พื้น, ผนัง, เฟอร์นิเจอร์, พรม, กระดาษ, ผ้าม่านฯลฯ เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไปเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อดึงเอาความร้อนและความชื้นนี้ออกไป ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเสียอีก

 

    6. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องปรับอากาศ

อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะปล่อยความร้อนออกมา เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นใช้ ดังนั้น ภาระส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศจึงเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องปรับอากาศ หากเราสามารถลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศโดยการย้ายออกไปตั้งไว้นอกห้องปรับอากาศได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มักมีอยู่ในห้องปรับอากาศแต่สามารถย้ายออกไปได้ เช่น

1) ตู้เย็น

2) ตู้ทำน้ำเย็น

3) เครื่องถ่ายเอกสาร

4) หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ

5) ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

6) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

7) ฯลฯ

 

    7. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็น

เครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง จะปล่อยความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟใช้ และความร้อนนั้นก็จะกลายเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ และต้องเสียพลังงานในการนำความร้อนนี้ทิ้งออกไปข้างนอกอีก จะเห็นได้ว่า การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไฟฟ้าแสงสว่าง ในห้องปรับอากาศจะเป็นการเสียค่าไฟสองต่อ คือ

- เสียค่าไฟที่อุปกรณ์หรือหลอดไฟใช้

- เสียค่าไฟที่เครื่องปรับอากาศเพื่อนำความร้อนออกไปทิ้งนอกห้อง

ดังนั้น การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศจึงเป็นการประหยัดสองต่อ คือ ประหยัดที่ตัวอุปกรณ์และประหยัดที่เครื่องปรับอากาศ

 

     8. งดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ

เมื่อมีการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็จะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้องการระบายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้อง ก็จะทำให้มีอากาศจากภายนอกใหลเข้ามาในห้องทดแทนซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น หากงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศหรือเปิดเพียงช่วงสั้นๆ ก็เพียงพอซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้ นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ ยังลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ จึงทำให้มีฝุ่นละอองไปจับที่คอยล์น้อยเครื่องปรับอากาศ จึงมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอ และช่วยยืดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศไปได้

 

     9. สวมเสื้อผ้าบางๆ

การสวมเสื้อผ้าบางๆ จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น จึงสามารถตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ดั้งนั้น จึงควรรณรงค์ให้ผู้ที่ทำงานในห้องปรับอากาศหันมาใส่เสื่อผ้าบางๆ ไม่ควรใส่สูทเพื่อที่จะตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้

 

    10. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท

หากปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท จะทำให้มีอากาศร้อนชื้นจากภายนอกรั่วใหลเข้าไปในห้องได้ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น มาตรการนี้ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าจะต้องกล่าวถึงอีกแต่กลับเป็นปัญหาที่พบบ่อย และละเลยกันมากที่สุด นอกจากการปิดประตูหน้าต่างไม่สนิทรอยรั่วรอบๆ กรอบ

ประตูและหน้าต่างก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ หากพบว่ามีรอยแยกและมีลมรั่วจากภายนอกเข้ามา ก็ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน

 

    11. ปิดผ้าม่าน

การปิดผ้าม่าน จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ตัวคนโดยตรงได้ และยังช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากผิวกระจกมาสู่ตัวคนด้วย ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเพื่อชดเชยการแผ่รังสีความร้อนจึงช่วยประหยัดพลังงานได้ นอกจากลดการแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคนแล้ว ผ้าม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกไปภายนอกได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนัก) จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง

 



ล้างแอร์ 300 บาท ซ่อมแอร์ ด่วน!! 02-897-1522
    ล้างแอร์ 300 บาท เท่านั้น !!

    ร้อนจัง ทำไม !! แอร์ไม่เย็น

    แอร์บ้าน ราคาแอร์ ปี 2017
แอร์ มิตซูบิชิอีเล็คทริค
แอร์ DAIKIN (ไดกิ้น)
แอร์ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ดิวตี้
แอร์ Panasonic (พานา)
แอร์ LG (แอลจี)
แอร์ SAMSUNG (ซัมซุง)
แอร์ Central เซ็นทรัลแอร์
แอร์ CARRIER (แคเรียร์)
แอร์ TOSHIBA (โตชิบา)
แอร์ ไซโจ SAIJO DENKI
แอร์ TRANE (เทรน)
แอร์ SHARP (ชาร์ป)
แอร์ AMENA (อามีน่า)
แอร์ HAIER (ไฮเออร์)
แอร์บ้าน YORK (ยอร์ค)
แอร์ EMINENT อีมิเเน้นท์
สตาร์แอร์ STAR-AIRE
แอร์ FUJITSU (ฟูจิตสุ)
แอร์ยูนิแอร์ UNI-AIRE
แอร์บ้าน MIKI (มิกิ)

    น้ำยาพิเศษ ล้างคอยล์แอร์
น้ำยาล้างคอยล์ คอยล์ร้อน
น้ำยาล้างคอยล์ คอยล์เย็น

    ซ่อมแอร์ด่วน !! ซ่อมแอร์บ้าน !!
ล้างน้ำยา ล้างคอยล์ร้อน
ซ่อมแอร์รั่ว ท่อระบบ
คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำงาน
ล้างน้ำยา ล้างคอยล์ร้อน
คอมเพรสเซอร์แอร์ เสีย
เช็คระบบไฟ ไทม์เมอร์
เปลี่ยนมอเตอร์ คอยล์เย็น
เปลี่ยนมอเตอร์ คอยล์ร้อน
ตัดล้างน้ำยา คอยล์เย็น
ซ่อมแอร์แขวน มีน้ำหยด
เปลี่ยนเซ็นเซอร์ ระบบแอร์


Copyright ©2018 All Rights Reserved. | ล้างแอร์.com | 02-897-1224-5 | 02-897-1522 | Hotline 24 Hr : 089-166-8765
เย็นสบาย เซอร์วิส แอร์ ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนพาณิชย์ เลขที่ 3102201191054

สงวนลิขสิทธิ์ © - ทีมงาน เย็นสบาย เซอร์วิส แอร์